โครงการรักษ์คหกรรม
 

          5 ส คือ กระบวนการในการจัดสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยโดยมุ่งเน้นที่จะก่อให้เกิดประ สิทธิภาพของการทำงานและจิตสำนึกในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ปฏิบัติงาน
“ส” คำ ย่อซึ่งแปลมาจาก 5 S ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของคำในภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ
1.SEIRI (เซริ) = สะสาง
2.SEITON (เซตง) = สะดวก
3.SEISO (เซโซ) =สะอาด
4.SEIKETSU (เซเคทซึ) = สุขลักษณะ
5.SHITSUKE (ซิทซึเคะ) =สร้างนิสัย
พิจารณาง่ายๆ จะเห็นว่า “ส” 3 ตัวแรกเป็นขั้นตอนการกระทำที่ส่งผลต่อวัตถุ ที่เราได้เข้าไปจัดการ ส่วน “ส” 2 ตัวหลังเป็นผลพวงจากการกระทำของ 3 ตัวแรก แล้วเกิดเป็นประโยชน์ต่อตัวของเราหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเกิดผลต่อตัวบุคคลผู้กระทำกิจกรรม 5 “ส” เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น จึงขออธิบาย “ส” แต่ละตัวตามลำดับ
ส.1 : สะสาง

คือการแยกของที่ต้องการออกจากของที่ไม่ต้องการและขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
วิธีการ

1.สำรวจสิ่งของเครื่องใช้อุปกรณ์และเอกสารในสถานที่ทำงาน
2.แยกของที่ต้องการและไม่ต้องการออกกจากกัน
3.ขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้ง
ส.2 : สะดวก

คือ การจัดวางสิ่งของต่าง ๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกและปลอดภัย
วิธีการ

1.ศึกษาวิธีการเก็บวางสิ่งของโดยคำนึงถึงความปลอดภัยคุณภาพ และประสิทธิภาพ
2.กำหนดที่วางให้แน่ชัดโดยคำนึงถึงการใช้เนื้อที่
3.เขียนป้ายชื่อแสดงสถานที่วางและเก็บสิ่งของเครื่องใช้ อุปกรณ์
ส.3 : สะอาด

คือการทำความสะอาดวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ทำงานพร้อมทั้งตรวจสอบขจัดสาเหตุของความไม่สะอาดนั้น ๆ
วิธีการ

1.ทำความสะอาดสถานที่ทำงาน
2.กำหนดแบ่งเขตพื้นที่
3.ขจัดสาเหตุอันเป็นต้นตอของขยะความสกปรก เลอะเทอะ
4.ตรวจเช็คเครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ ด้วยการทำความสะอาด
ส.4 : สุขลักษณะ

คือ การรักษาความสะอาดดูแลสถานที่ทำงานและปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ
วิธีการ

1.ขจัดมลภาวะซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายสุขภาพจิตของพนักงาน เช่น อากาศเป็นพิษ เสียงดังเกินไป แสงสว่าง ไม่เพียงพอควันและเขม่าฟุ้งกระจายทั่วไป เป็นต้น
2.ปรุงแต่งสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบสะอาดหมดจดยิ่งขึ้น มีบรรยากาศร่มรื่น น่าทำงานเปรียบเสมือนที่พักผ่อน
3.บุคลากร - นักเรียน แต่งกายให้ถูกระเบียบ สะอาดหมดจด
ส.5 : สร้างนิสัย

คือ การรักษาและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 4 “ส”. จนเป็นนิสัยและมีวินัยในการทำงาน
วิธีการ

เสริมสร้างและฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจต่อกฎระเบียบ มาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อให้สามารถปฏิบัติ จนเป็นนิสัยโดยการตอกย้ำเรื่องนี้อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเป็นประจำ

ระยะเวลา และสถานที่ดำเนินการ

            เดือน มกราคม 2556  โดยแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบตามฝ่ายและสถานที่ ดังนี้
1. สำนักงานของภาควิชา ฯ
2. ห้องพักคณาจารย์และบุคคลากร
3. ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการ ชั้น 14-15 ตึก 19 คณะวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย
ชั้น 14 ห้อง 19-1401 ปฏิบัติการอาหาร, 19-1412 ปฏิบัติการชีวเคมี, 19-1413 ห้องเรียน
ชั้น 15 ห้อง 19-1501 ทดสอบ, 19-1501 เคมี, 19-1502 วิทยาศาสตร์สิ่งทอ,19-1501, 19-1503 เก็บสารเคมี, 19-1503/1 ย้อม, 19-1503/2 พิมพ์, 19-1512 ห้องปฏิบัติการเย็บผ้า, 19-1514 ห้องเรียน
 

กิจกรรมและแผนปฏิบัติการ
 ลำดับที่
กิจกรรม
ช่วงเวลาดำเนินการ
1
ภาควิชาประกาศนโยบาย เป้าหมายและวัตถุประสงค์ โครงการ
 
เดือนมกราคม 2556
2
การให้ความรู้และความเข้าใจเรื่อง
 5 ส แก่นิสิตและบุคคลากร
 เดือนมกราคม 2556
3
แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานกิจกรรม 5 ส
 
เดือนมกราคม 2556
4
สำรวจสภาพพื้นที่ความรับผิดชอบ แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ    โดยจัดทำผังประกอบ และมอบหมายความรับผิดชอบ กำหนด Action plan
 
เดือนมกราคม 2556
5
ถ่ายรูปก่อนดำเนินการกิจกรรม    5ส ให้เห็นสภาพพื้นที่ของสถานที่ก่อนจะลงมือทำกิจกรรม
 
เดือนมกราคม 2556
6
ลงมือทำงานร่วมกัน เป็นกลุ่ม   (ตามแผน)โดยดำเนินกิจกรรม 3 ส
 
เดือนมกราคม 2556
7
กำหนดวันทำความสะอาดใหญ่ (Big Cleaning Day)    โดยกลุ่มรับผิดชอบพื้นที่
 
เดือนมกราคม 2556
8
จัดให้การตรวจผลการดำเนินงาน และประเมินผลการปฏิบัติการ
เดือนมกราคม 2556
9
สรุปผลการดำเนินการโครงการ
  เดือนมกราคม 2556
 
กำหนดการโครงการรักษ์คหกรรม

 
วันที่1

13.30- 13. 45 น.                      ลงทะเบียน และรับเอกสาร
13.45-14.00 น.                        หัวหน้าโครงการประกาศนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์
14.00-15.30 น.                        จัดอบรม บุคคลากร และนิสิต เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่อง 5 ส
                                                  แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ ชี้แจงเกณ์และมอบหมาย ความรับผิดชอบ
15.30-16.00 น.                        สำรวจสภาพพื้นที่ความรับผิดชอบ และถ่ายรูปก่อนดำเนินการกิจกรรม
                                                  5 ส ให้เห็นสภาพพื้นที่ของสถานที่ก่อนจะลงมือทำกิจกรรม
16.00-16.30 น.                        กำหนดมาตรฐาน 5 ส เพื่อประกอบเป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันมอบหมายให้ทุกกลุ่มกำหนด
                                                  Action plan และหัวข้อแนวทางในการปรับปรุง
 
วันที่ 2

12.30-13.30 น.                      ทบทวนมาตรฐานและแนวทางในการปฏิบัติงานตามหัวข้อ
                                                 ทำความสะอาดใหญ่ (Big Cleaning Day) โดยกลุ่มรับผิดชอบพื้นที่ลงมือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
                                                 (ตามแผน) โดยดำเนินกิจกรรม 5 ส
13.30-14.00 น.                       ตรวจผลการดำเนินงาน และประเมินผลการปฏิบัติการ
 
 
คำแนะนำสำหรับการปฏิบัติ 5 ส

1. นิสิตแบ่งกลุ่มความรับผิดชอบพื้นที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ
2. นิสิตวางแผนการทำ 5 ส ร่วมกับอาจารย์และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่
3. ถ่ายรูปพื้นที่ก่อนการลงมือปฏิบัติ 5 ส
4. นิสิต อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ร่วมกันปฏิบัติกิจกรรม 5 ส (รับวัสดุอุปกรณ์ในการทำความสะอาดจากอาจารย์หัวหน้าโครงการ)
5. นิสิตร่วมกับอาจารย์ตรวจประเมินผลการปฏิบัติ 5 ส (ถ่ายรูปขั้นตอนนี้ด้วย)
6. ถ่ายรูปพื้นที่หลังการทำ 5 ส

ชมภาพกิจกรรโครงการรักษ์คหกรรม